ข้อมูลการท่องเที่ยวนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand) เมารีเรียกนิวซีแลนด์ว่า Aotearoa [เอาเตอารัว] หมายถึง “ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว” หรือ Niu Tireni [นิวทิเรนี] ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ – นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน (Wellington) นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้ “complete chieftainship” (tino rangatiratanga) แก่ชนเผ่าเมารีของ นิวซีแลนด์ ในปัจจุบัน ความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของกษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอซึ่งปกครองตนเอง และปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น

 สภาพภูมิอากาศ
นิวซีแลนด์ ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่

  • ฤดูร้อน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
  • ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม
  • ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม
  • ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน

เนื่องจากตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจาก – ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก – กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก อากาศแตกต่างกันดังนี้ – เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ – เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก อุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม และ 8 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม

 การขอวีซ่า

 เวลา
เวลาของประเทศนิวซีแลนด์จะเร็วกว่าเวลาของประเทศไทย 5 ชั่วโมง แต่จะมีการปรับเวลาช้าลง 1 ชั่วโมงในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนมีนาคม หรือช่วงที่เรียกว่า Day Light Saving ซึ่งจะมีผลทำให้ประเทศนิวซีแลนด์มีเวลาที่เร็วกว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมงในช่วงนี้

 ภาษา
ภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางราชการคือ ภาษาอังกฤษ

 เงินตรา
สกุลเงินของนิวซีแลนด์คือ นิวซีแลนด์ดอลล่าร์ (NZD) ซึ่งแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้เท่ากับ 100 เซ็นต์ เงินเหรียญที่ใช้มีตั้งแต่ 10c, 20c, 50c, $1, และ $2 ตามลำดับ ส่วนธนบัตรมีตั้งแต่ $5, $10, $20, $50, และ $100 ตามลำดับ 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ประมาณ 24 บาท (กันยายน 2553) ส่วนบัตรเครดิสามารถใช้ได้ตามร้านค้าทั่วไป ที่รับบัตรเครดิตหลักๆ ทุกประเภท

NZD

 ระบบไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า 230/240 โวลต์ ในโรงแรมและที่พักส่วนใหญ่จะเตรียมไฟระบบ 110 โวลต์ ไว้ให้บริการ หรืออาจนำอุปกรณ์แปลงไฟและตัวแปลงจาก 2 หัวเป็น 3 หัวติดตัวไปด้วย

newzealand-plugตัวอย่างปลั๊กไฟและตัวแปลงที่ใช้กับปลั๊กไฟในนิวซีแลนด์

 ฟิลม์และกล้องถ่ายรูป
ควรเตรียมไปให้เพียงพอโดยเฉพาะฟิล์มเพราะที่ต่างประเทศราคาจะสูงมากโดยเฉพาะ ตามสถานที่ท่องเที่ยว และควรเตรียมถ่านใส่กล้องถ่ายรูปไปด้วยเพราะอากาศเย็นถ่านจะเสื่อมสภาพเร็ว

 การใช้โทรศัพท์
สำหรับคนที่ไปเที่ยวนิวซีแลนด์และอยากจะโทรกลับประเทศไทยวิธีที่ประหยัดที่สุดคือ การใช้โทรศัพท์สาธารณะของนิวซีแลน์ โดยปกติจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้บัตร และแบบหยอดเหรียญ บัตร์โทรศัพท์สามารถหาซื้อได้ตาม ร้านค้าทั่วไป ที่ทำการไปรษณีย์ปั๊มน้ำมั้น ฯลฯ หากต้องการใช้ตู้โทรศัพท์ที่หยอดเหรียญ จะต้องใช้เหรียญ 20 เซ็นต์หยอดเพื่อใช้บริการ สำหรับคนที่ต้องการโทรกลับประเทศไทย ต้องกดหมายเลขดังนี้ “00+66+รหัสเมือง+หมายเลขที่ต้องการ” นอกจากนี้ถ้าสังเกตดีๆ ร้านอาหาร โรงแรม หรือสถานที่ท่องเที่ยว จะมีบริการฟรีด้วย หมายความว่าสามารถโทรติดต่อสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าบริการ เหมือนโทรภายในประเทศไม่เสียเงิน

 การให้ทิป
การให้ทิปในต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องสำคัญ และมารยาทของนักท่องเที่ยวควรให้ทิปสำหรับคนที่ให้บริการท่าน อาทิคนขับรถ / ไกด์ท้องถิ่น ที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านระหว่างการเดินทาง

 อาหารการกิน
1. กุ้งมังกร (Crayfish) เครย์ฟิช (Crayfish) เป็นกุ้งมังกรชนิดหนึ่ง ที่ชาว นิวซีแลนด์ เรียก ซึ่งเป็นคนละพันธุ์กับเครย์ฟิชในบางประเทศ กุ้งมังกรที่นำมาทำเป็นอาหารจะมีอายุระหว่าง 5-10 ปี มีรสชาติที่หวานและอร่อยเป็นที่สุด

2. ไวน์ที่มาร์ลโบโรว์ (Marlborough) ถ้าพูด ถึงเรื่องไวน์ ต้องนึกถึงหุบเขาไวราว (Wairau Valley) ในเขตมาร์ลโบโรว์ เพราะเป็นแหล่งปลูกไวน์ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดของที่นี่ ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ประกอบการกิจการไร่ไวน์เกือบ 50 แห่ง โดยมีไร่ไวน์มอนทาน่า (ผู้ผลิตไวน์รายใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์) เป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มนำองุ่นพันธุ์ดีมาปลูกในท้องที่แห่งนี้เมื่อช่วง ทศวรรษที่ 1970

3. หอยแมลงภู่เปลือกเขียว (Greenshell Mussel) นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องกุ้งมังกรแล้ว นิวซีแลนด์ยังขึ้นชื่อเรื่องหอยแมลงภู่ด้วย ถึงขนาดมีเมืองแห่งหอยแมลงภู่เลยทีเดียว (เมืองแฮฟล็อก – Havelock) ซึ่งเมนูอาหารที่นักทานนิยมสั่งกันมีอยู่สองอย่าง ได้แก่ หอยย่าง (Fresh Flats) และ หอยนึ่ง (Fresh Steamers) ทั้งนี้หอยแมลงภู่ย่างจะถูกเสิร์ฟโดยแกะฝาออกเหลือเพียงฝาเดียว เราจึงสามารถนำไปย่าง แล้วใส่เครื่องปรุงแบบต่างๆ ได้ ส่วนหอยแมลงภู่นึ่งเขาจะนำไปนึ่งทั้งตัวเลย ก่อนจะยกเสิร์ฟมาเป็นหม้อ เพื่อให้นักชิมลิ้มรสทั้งน้ำและเนื้อไปพร้อมๆ กัน

4. กีวี (Kiwi) ก่อน หน้านี้กีวีไม่เป็นที่รู้จักของชาวโลกเท่าไหร่ แต่เมื่อพบว่าการเก็บกีวีไว้ในตู้เย็นหรือห้องเย็น สามารถที่จะรักษาคุณภาพกีวีได้นานถึง 6 เดือน จึงทำให้กีวีเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมาก ยิ่งในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการค้นพบกีวีสีทอง (Zespri Gold Kiwi) ซึ่งมีเนื้อสีเหลืองและรสชาติหวานฉ่ำกว่าเดิมมาทดแทนพันธุ์สีเขียว (Hayward Green Kiwi) ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวด้วยแล้ว ยิ่งทำให้กีวีกลายเป็นที่นิยมยิ่งขึ้น

 รายการช้อปปิ้ง
ช้อปปิ้งในควีนส์ทาวน์ : ควีนส์ทาวน์เป็นเมืองเดียวในนิวซีแลนด์ที่ร้านค้าเปิดถึง 3-4 ทุ่มทุกวัน โดยเฉพาะร้านค้าที่อยู่ระหว่างถนนเชิร์ช (Church Street) จนถึงถนนชอตโอเวอร์ (Shotover Street) ศูนย์กลางการค้าจะอยู่ที่เดอะมอลล์ ซึ่งเป็นถนนสายสั้นๆ ร้านค้าส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายเสื้อผ้า รองเท้า เสื้อไหมพรม เสื้อขนแกะ และของที่ระลึกต่างๆรวมทั้งของมียี่ห้อ เช่น ทิมเบอร์แลนด์ หรือ แคนเทอร์เบอรี่ ฯลฯ ราคาของที่นี่เท่ากับทุกๆแห่งในนิวซีแลนด์ ช้อปปิ้งรอบดึกในควีนทาวส์ มีพวกดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์แฮปปี้ เฮ็น (Happy Hen)

 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

  • อ็อคแลนด์ (Auckland)
  • ถ้ำไวโทโม (Waitomo Caves)
  • เมืองโรโตรัว (Rotorua)
  • The New Zealand Maori Art & Craft Institute
  • Sheep Show
  • ธารน้ำแข็งฟรานซ์โจเซฟ (Franz Josef Glacier) และธารน้ำแข็งฟ็อกซ์ (Fox Glacier)
  • เมืองควีนสทาวน์ (Queenstown)
  • ไครสต์เชิร์ช (Christchurch)
  • เมืองไคคูร่า (Kaikoura)
  • ทะเลสาบวาคาตีปู (Lake Wakatipu)
  • ฯลฯ

 เทศกาลสำคัญ

  • เทศกาลโกลเด้น เชียร์ส ทุกเดือนมีนาคม ชายหนุ่มหญิงสาวจะมาร่วมประชันฝีมือกันเพื่อชิงแชมป์สุดยอดช่างตัดขนแกะแห่งปี โดยงานนี้มีระยะเวลาสามวันและเริ่มจัดอย่างเป็นทางการในปี 1961 ได้รับความนิยมอย่างสูงถึงกับต้องให้ทหารเข้ามาดูแลฝูงชนให้อยู่ในความเรียบร้อย ทุกวันนี้ การแข่งขันถูกแยกย่อยออกเป็นประเภทต่างๆ รวมถึงมีการแบ่งระดับตามความเชี่ยวชาญ โดยในแต่ละประเภทสามารถมีช่างตัดขนแกะเข้าร่วมได้มากถึง 120 คน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทศกาลโกลเด้น เชียร์ส เข้มข้นและจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้เข้าแข่งต่างทุ่มเทเวลาฝึกฝนอย่างเต็มที่เพื่องานใหญ่ครั้งนี้
  • งานเทศกาลอาหารและไวน์ทั่วประเทศ ช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นช่วงเวลาของการจัดงานเทศกาลอาหารและไวน์ทั่วประเทศ นับเป็นโอกาสดีสำหรับบรรดานักชิมที่จะได้ลิ้มลองรสชาติอาหารเลิศรสของภูมิภาคต่างๆ ในนิวซีแลนด์
  • เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิทั่วประเทศจึงร่วมกันจัดเทศกาลสวนและพืชพรรณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานจัดสวนไม้ดอกและพันธุ์พืช Ellerslie Flower Show ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีที่เมืองอ็อคแลนด์
  • โอทาโก้ (Otago Festival of the Arts) ในเดือนตุลาคมหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลแห่งเมืองดะนีดิน ( Dunedin Festival) ซึ่งรวม เอาการแสดงดนตรี ละคร เต้นรำ และโอเปร่าจากนักแสดงทั้งพื้นเมืองและนานาชาติมาไว้ด้วยกัน

newzealand-festival